Lom Kao 100 years market
ตลาดร้อยปีหล่มเก่า
บ้านยองหิน
ภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ที่บ้านภูผักไซ่
Travel | เเหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
บ้านยองหินเป็นบ้านที่สร้างด้วยการตั้งเสาแต่ละต้นของบ้านจะตั้งอยู่บนก้อนหินจะไม่ฝั่งเสาลงดิน เมื่อเกิดลมแรงหรือแผ่นดินไหวจะทนทานได้เพราะมีความยืดหยุ่นกว่า ส่วนบ้านที่ฝั่งเสาลงดินจะล้มก่อน ส่วนบ้านที่ตั้งบนหินจะไม่สะเทือนถึงบนบ้าน ชาวไทลื้อสร้างบ้านลักษณะนี้กันมานานจนถึงปัจจุบันยังมีให้ชมกันในภาคเหนือของไทย ลักษณะบ้านยองหินนอกจากจะตั้งบนก้อนหินแล้วลักษณะพิเศษอีกอย่างคือการไม่ใช้ตะปูแต่จะเป็นการเข้าไม้แบบตอกเข้าลิ่ม สลักไม้สอดเข้าลิ่ม
“ป้าละม่อม แก้วเหลี่ยม” เจ้าของบ้านยองหินที่บ้านภูผักไซ่ ป้า
ละม่อมเล่าว่าบ้านของป้าสร้างเมื่อประมาณปี 2488 ประมาณ 70 ปี คำว่า “ยอง” หมายถึง “บน” บ้ายองหินจึงหมายถึงบ้านที่มีเสาเรือนตั้งอยู่บนแผ่นหิน การนำแผ่นหินมาวางรองเสา ช่วยป้องกันไม่ให้เสาบ้านสัมผัสกับความชื้นที่อยู่ในดินหรืออีกนัยหนึ่งก็เพื่อป้องกันปลวกขึ้นบ้านนั้นเอง
![]() |
---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ป้าละม่อมเล่าต่อว่า ในการก่อสร้างเริ่มจากการเอาหินมาวางไว้
บริเวณที่กำหนด ก้อนหินหรือแผ่นหินที่นำมาใช้ เป็นหินจากน้ำพุงลำน้ำที่ไหนผ่านหมู่บ้านและจากเขาภูผักไซ่ จากนั้นนำเสามาตั้งโดยมัดเสาติดกับทอม (นั่ง-ร้าน) ทำแบบเดียวกันทุกเสา รวม 16 เสา วิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เสาเรือนคงทนถาวรไม่ผุกร่อนง่าย ไม่ต้องกังวลกับปัญหาปลวกรบกวน สะดวกในการเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอนเนื่องจากเสาเรือนไม่ได้ถูกฝังลงในดิน จากนั้นจะใช้วิธีการสอดคานตีลิ่ม (ทำจากไม้ เสาไม้แต่ละเสาจะต้องใช้ขวานปลอกเปลือกและเจาะรูเพื่อใส่คานและลิ่ม) แล้วอัดให้แน่นโดยไม่ใช้ตะปูก่อนจะมุงหลังคาตีพื้นและฝา เมื่อสร้างเสร็จส่วนประกอบของบ้านจะยึดโยงกันทำให้บ้านมีความแข็งแรง ปัจจุบันในหมู่บ้านยังคงเหลือบ้านยองหินประมาณ 5 หลัง

ป้าละม่อม แก้วเหลี่ยม
นอกจาเสาบ้านที่วางบนหินแล้ว ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของบ้าน
พื้นถิ่นของที่นี่ ยังทำลูกบันไดหรือขั้นบันไดเอียงลาดลงมาด้านหน้า เป็นภูมิปัญญาอีกหนึ่งเรื่องของคนโบราณ ที่ทำแบบนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเล็กปีนเล่นบันไดหรือเด็กโตมาหน่อยจะขึ้นบันไดก็ต้องมีสติระมัดระวัง
ปัจจุบันบ้านของป้าละม่อมยังเป็นที่ตั้ง “ศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใย
ชุมชนตำบลหินฮาว” และเป็นที่ทำการของกลุ่มทอบ้านภูผักไซ่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญาที่คนไทหล่มถ่ายทอดสู่ลูกหลาน ในอดีตเมื่อว่างเว้นจากการทำเรือกสวนไร่นาพวกผู้หญิงจะปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สายไหม ปลูกฝ้ายสำหรับทอผ้าโดยใช้กี่พื้นบ้าน คนไทหล่มนิยมทอผ้าที่ใช้ในบ้านที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นคือผ้าห่มลายดอกผักแว่น (ใช้เป็นผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่และผ้าห่ม) ป้าละม่อมเล่าว่าเด็กผู้หญิงสมัยก่อนอายุราว 4-5 ขวบ ก็เริ่มสนใจการทอผ้ากันแล้ว












ผ้าห่มลายดอกผักแว่น




ราวปี 2530 ชาวบ้านเริ่มร่วมกลุ่มทอผ้าเป็นอาชีพ แต่ก็ล้มลุกคลุก
คลานอยู่นาน ต่อมาหมู่บ้านภูผักไซ่ได้รับรางวัลหมู่บ้านอาสาพัฒนาตนเองจึงเริ่มมีทางการเข้ามาสนับสนุน ได้แก่ อุตสาหกรรมจังหวัดเข้ามาส่งเสริมการรวมกลุ่มทอผ้าของกลุ่มแม่บ้านจนเป็นที่รู้จัก ปัจจุบันการเลี้ยงไหมน้อยลง ส่วนใหญ่เป็นไหมแบบสำเร็จรูป เส้นใยไหมประดิษฐ์
สำหรับผลิตภัณฑ์นั้นมีหลากหลายแต่ที่เด่นๆ ก็คือ ผ้ามัดหมี่ไท
หล่ม เป็นผ้ามัดหมี่ลายโบราณ ผืนหนึ่งมีหลายลาย เช่น ลายหอปราสาท ลายนาค ลายกะจับ (ภาษาถิ่นเรียก มัดจับ) ลายซุ้ม ลายเฝื้องถ้วย (เฝื้องมีความหมายว่า ครึ่ง) ฯลฯ ส่วนหัวซิ่นทอเป็นผ้าขาวแล้วนำมามัดย้อมให้เป็นลวดลายแบบโบราณ สมัยก่อนนิยมใช้ครั่งย้อมหัวซิ่นเป็นสีแดง จึงเรียกว่า “ซิ่นหัวแดง” ส่วนตีนซิ่นก็จะทอเป็นลายทางยืน นำมาทอโดยพุ่งด้วยด้ายสีอย่างเดียว ก็จะเกิดลายสำหรับใช้ทำตีนซิ่น
ป้าละม่อมยังเล่าด้วยความภาคภูมิใจว่า ผ้ามัดหมี่ไทหล่มมี
เอกลักษณ์ที่ลวดลายประณีต ละเอียด ยังมีลายที่เรียกว่า “รวมมัดหมี่” เป็นลายมัดหมี่สมัยใหม่ลายเดียวทั้งผืน นอกจากนี้ยังมีผ้าไหมประดิษฐ์ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ นิยมสั่งทอเพื่อใช้ตัดเสื้อของหน่วยงาน ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์บ้านภูผักไซ่ได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์โอทอป 4 ดาวด้วย สนใจอุดหนุนผลิตภัณฑ์เชิญชมได้
ที่อยู่กลุ่มทอผ้าบ้านภูผักไซ่ 33 ม.7 ต.หิวฮาว อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์
ติดต่อ 08-7040-2680
ความเป็นมา
จากหลวงพระบาง. . . .สู่บ้านภูผักไซ่
ป้าละม่อมเจ้าของบ้านอธิบายให้ฟังว่า “บ้านภูผักไซ่” เป็นหมู่บ้านหนึ่ง
ในตำบลหินฮาว ตั้งขึ้นมาประมาณ 200 ปี (ราว พ.ศ.2341) โดยมีนายทองสาเป็นหัวหน้าพาคนจำนวน 20 คน อพยพมาจากหลวงพระบางลงมาทางทิศใต้ เมื่อมาถึงบ้านภูผักไซ่เห็นว่ามีทำเลที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน มีลำน้ำไหลผ่าน ซึ่งก็คือลำน้ำพุงและมีพื้นที่เพาะปลูกมีภูเขาอยู่ทางทิศตะวันตก จึงได้ตั้งบ้านเรือนอยู่จำนวน 5 ครัวเรือน สำหรับชื่อหมู่บ้านเนื่องจากบนถูเขามีผักไส่ขึ้นอยู่จำนวนมากจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “ภูผักไส่” ต่อมาออกเสียงเพี้ยนเป็น “ภูผักไซ่” ดังเช่นในปัจจุบัน
ส่วนชื่อตำบล “หินฮาว” มาจากลักษณะภูมิประเทศของหมู่บ้านที่เป็น
สันกำแพงยื่นออกมาจากวัดท่าศิลามงคล เป็นแนวยาวไปกลางแม่น้ำพุงประมาณ 20 เมตร พระและชาวบ้านได้อาศัยหินดังกล่าวในการเดินลงไปอาบน้ำซักผ้าในลำน้ำ เมื่ออาบน้ำเสร็จก็จะตากผ้าที่เปียกน้ำบนราวหิน คำว่า “ราว” ในภาษาถิ่นออกเสียงว่า “ฮาว” จึงเป็นที่มาของชื่อ “หินฮาว” นั้นเอง

ที่ตั้ง 32 หมู่ 7 ต.หินฮาว อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์