
Lom Kao 100 years market
ตลาดร้อยปีหล่มเก่า
วิถีชีวิตไทหล่ม
ผู้ชายไทหล่มสมัยก่อนจะใส่เสื้อหม้อห้อม เจาะรังดุม มีกระดุมทำจากกะลามะพร้าว บางทีก็ใช้ไม้กลัดกลัดเป็นทางลงมาแทนกระดุมโดยเฉพาะเสื้อที่ทอจากผ้าฝ้ายเนื้อผ้าจะห่างก็จะใช้ไม้กลัดกลัดได้ เป็นเสื้อคอกลมแหว่งข้าง นุ่งกางเกงขาก๊วย หรือกางเกงหัวโหล่ง หรือหัวโล่ง คนแก่จะนุ่งผ้าโจงกระเบน แต่จะนุ่งแบบหยักรั้ง (นุ่งเหมือนโสร่งแต่ดึงชายผ้าขึ้นมาเหนือเข่า) เพื่อจะได้ก้าวขาได้สะดวก ทะมัดทะแมง ส่วนคนแก่ผู้หญิงจะใส่เสื้อลูกไม้
เนื่องจากบรรพบุรุษของคนไทหล่มอพยพย้ายถิ่นฐานมาจากตอนเหนือของประเทศลาว คนไทหล่มจึงมีภาษาพูดคล้ายกับทางประเทศลาว เช่นกระโถนจะเรียกว่าเงี้ยง ลาวก็เรียกว่าเงี้ยง หน้าต่างคนไทยเราเรียกหน้าต่าง ทางลาวเรียก ป่องเอี้ยม ช้อนตักแกงเรียกบ่วง ส้วมเรียกเว็ด ถ้าอยู่วัดเรียกฐาน ส่วนผู้หญิงจะใช้คำแทนตัวว่า ผม ตัดผมสั้นไว้จอนข้างหูเหมือนผู้ชาย สิ่งเหล่านี้จะช่วยยืนยันว่าบรรพบุรุษ ของไทหล่มอพยพมาจากหลวงพระบาง ประเทศลาวนั่นเอง เรียกภาษาถิ่นที่ใช้สืบต่อกันมาว่า “ภาษาหล่ม ”
สำหรับการแต่งกายของชาวไทหล่ม ในอดีตผู้หญิงชาว
บ้านธรรมดายากจน ทอผ้าไม่เป็น ไม่มีฝ้าย จะใส่เสื้อจับจีบ (มีสายเหมือนสายเดี่ยว) เรียกว่า เสื้อห้อย ย้อมสีด้วยใบครามเรียกว่าสีขี้ม้า นุ่งผ้าซิ่น สำหรับคนที่มีฐานะดีหน่อยก็จะมีเสื้อชั้นนอก มีทั้งแขนสั้นและแขนยาว มีทั้งแบบคอปกหรือไม่มีก็ได้


การแต่งกายของชาวไทหล่ม
ถ้าเป็นคนที่มีเงินเป็นข้าราชการ เจ้านายก็จะซื้อเสื้อผ้าขากกรุงเทพ เป็นผ้าดอกผ้าลาย ภรรยาปลัด ภรรยานายอำเภอ ครูอาจารย์ส่วนมากจะใส่
เป็นผ้าซิ่นและคาดเข็มขัด ไม่เย็บเข้ารูป เรียก “สเกิร์ต” ชาวบ้านใส่ผ้าซิ่นผ้าถุงคาดเข็มขัด ข้าราชการในสมัยก่อนจะนุ่งผ้าม่วงแบบโจงกระเบน ใส่ถุงเท้าขาวใส่รองเท้าดำ (เครื่องแบบเต็มยศของข้าราชการ) ครูส่วนใหญ่ก็ส่วนอย่างนี้แต่ครูน้อยก็จะใส่กางเกงสากล เวลามีงานเจ้านายจะนุ่งโจงกระเบน นุ่งผ้าลายตราหนุมาน ซึ่งตอนนั้นถือว่ามีราคาแพง คนไทหล่มเปลี่ยนมานุ่งผ้าถุง ตอนสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ห้ามเคี้ยวหมาก ต้องใส่หมวกออกจากบ้านถ้าไม่สวมหมวกจะถูกจับ เมื่อทางการห้ามใส่โจงกระเบน ชาวบ้านจึงนำผ้าลายมาตัดเป็นผ้าถุง

คุณยาย สว่างจิต เพ็ญภาคกุล

ภาพถ่ายตลาดหล่มเก่า
Photo by Arminid