top of page

เมืองหล่มเเต่โบราณ

       เมืองหล่มเก่าปรากฏขึ้นครั้งแรกในรัชกาลของ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในชื่อว่า "เมืองหล่ม" เมื่อย่างเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ เมืองหล่มเก่านี้เป็นกลายเป็นเมืองของชาวลาวขนาดใหญ่ และเมื่อมีอพยพมายิ่งขึ้นจากหลวงพระบาง จึงได้มีการตั้งเมืองใหม่บริเวณทางใต้ของเมืองหล่มเก่า ซึ่งก็คือ เมืองหล่มสักในปัจจุบัน

  หล่มเก่าที่จะกล่าวถึงในที่นี้ มิได้หมายถึงอำเภอหรือตำบลที่จัดตั้งเป็นทางราชการ แต่จะกล่าวถึงความเป็นมาของนามว่า “หล่มเก่า” นั้น มีประวัติเป็นมาอย่างไร จากการสืบถามผู้เฒ่าผู้แก่ที่พอจะทราบเรื่องราวของหล่มเก่า ซึ่งเล่ากันต่อๆมา และจากหนังสือเอกสารที่ท่านผู้รู้จดบันทึกไว้ เช่นขุนสำรวจธุรกิจ ,ท้าวบัวไข จันทร์พิลาอดีตปลัดอำเภอหล่มเก่า ,คุณตาชื่น หอมจันทร์    อดีตศึกษาอำเภอหล่มเก่า กล่าวว่า

     “หล่มเก่า” เป็นคำเรียกหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นชื่อตำบลและอำเภอ อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดเพชรบูรณ์         ณ บริเวณนั้น เดิมชื่อ “เมืองลม” หรือ “เมืองลุ่ม” หรือ "เมืองหล่ม” ซึ่งมีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชว่า เมืองหล่มนี้ มิใช่เป็นเมืองทางราชการตั้งขึ้น แต่เป็นเมืองที่เกิดขึ้นโดยประชาชนร่วมกันสร้างพอสรุปความเป็นมาของหล่มเก่าได้ดังนี้

     หลักฐานที่พอจะเชื่อถือได้ในช่วงระยะเวลาต่อจากอุปฮาดเจ้านอนตาย ถึงก่อนปี พ.ศ. ๒๓๗๐ เกิดมีกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ (สมัยนั้นเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองขึ้นของไทย)เจ้าอนุวงศ์ได้ส่งเจ้าราชวงศ์ให้คุมกองทัพกบฏส่วนหนึ่งมายึดเมืองหล่ม อุปฮาดเมืองหล่มในครั้งนั้นมีกำลังน้อย จึงจำต้องยอมสวามิภักดิ์ต่อเจ้าราชวงศ์ เข้าร่วมเป็นกบฎ เมื่อทางเมืองหลวงของไทย (กรุงเทพฯ) ทราบข่าว ได้ส่งพระยาอภัยภูธรและพระยาพิชัย นำกำลังพลมาถึงเมืองหล่ม เมือพระยาทั้งสองเดินทางมาถึงเมืองหล่ม มีชายไทยตนหนึ่งชื่อ นายคง ได้อาสานำทัพของพระยาอภัยภูธรและพระยาพิชัยติดตามทัพกบฏเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ ตามไปทันกันที่เมืองหนองบัวลำพู เขตเมืองอุดรราชธานี กองทัพไทยจับอุปฮาดเมืองหล่มได้ จึงสำเร็จโทษ ตำแหน่งอุปฮาดเมืองหล่มจึงว่างลงตั้งแต่บัดนั้น  เมื่อปราบกฏเจ้าอนุวงค์สำเร็จ ทางกรุงเทพฯได้พิจารณาความดีความชอบของนายคงผู้กล้าหาญมีความซื่อสัตย์ จึงได้ทำการปูนบำเหน็จรางวัลด้วยการแต่งตั้งตำแหน่งอุปฮาดเจ้าเมืองหล่ม โดยมีบรรดาศักดิ์ราชทินนามว่า 

“พระยาสุริยะวงศาสงครามรามภักดีวิริยกรมพาหนะ”

          สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ ขุนวิจิตรมาตรา (จาก หนังสือหลักไทย ฉบับขุนวิจิตรมาตรา) สันนิษฐานว่า เดิมทีพื้นที่นี้เป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าพื้นเมืองที่เรียกว่า "ลัวะ"  ต่อมาได้มีชนชาวไทยน้อยที่อาศัยอยู่ริมฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงที่เรียกว่า       เมืองศรีสัตนาหุต (เวียงจันทน์) กลุ่มหนึ่งและเมืองเชียงทองหลวงพระบาง อีกกลุ่มหนึ่ง อพยพมาหาหลักแหล่งทำมาหากิน  และเพื่อหนีภัยสงครามของพม่า มาพบว่าพื้นที่ที่ชาวลัวะอาศัยอยู่ มีทำเลดีเพราะเป็นที่ราบลุ่มล้อมรอบด้วย เทือกเขา มีลำน้ำพุงไหลผ่าน  เหมาะแก่การเพาะปลูก ชาวไทยน้อยกลุ่มนี้  จึงได้จัดตั้งบ้านเมืองขึ้นในพื้นที่หมู่บ้านหนองขี้ควาย (บ้านหินกลี้งปัจจุบัน) และได้ยกผู้นำในการอพยพขึ้นมาเป็นเจ้าเมือง แต่ครั้งนั้นไม่เรียกว่าเจ้าเมือง เรียกว่า “อุปฮาด” ตามแบบอย่างภาษาของชาวเมืองศรีสัตนาหุต

          อุปฮาด คนแรกชื่อว่า เจ้าปู่เฒ่า ท่านได้สร้างคุ้มวังที่อาศัยบนริมฝั่งน้ำพุงด้านตะวันตก และได้สร้างวัดคู่บ้านคู่เมืองขึ้นบนริมฝั่ง  น้ำพุงด้านตะวันออก ปัจจุบันคือวัดศรีมงคล (หินกลิ้ง)

         อุปฮาดต่อจากเจ้าปู่เฒ่าลงมาที่พอทราบชื่อจากคำบอกเล่าคือ อุปฮาดเจ้าหนองขาม อุปฮาดเจ้าอานนท์ อุปฮาดเจ้าคุก ในสมัยอุปฮาดเจ้าคุกได้ย้ายคุ้มวังจากบ้านหนองขี้ควาย (หินกลี้ง) มาตั้งอยู่บนฝั่งน้ำพุงด้านตะวันออก  สันนิษฐานว่าปัจจุบันคือพื้นที่ ที่อยู่ระหว่างกลางวัดสองวัดคือวัดตาลกับวัดกู่แก้ว ณ คุ้มอุปฮาดบ้านกลางนี้ อุปฮาดท่านนี้ ได้เสียชีวิตในระหว่างนอนหลับ ประชาชนจึงพากันเรียกท่านว่า อุปฮาดเจ้านอนตาย

         ครั้งหนึ่ง พระยาสุริยะวงศาฯ ได้กลับจากธุระที่เมืองหลวง (กรุงเทพฯ) ได้เดินทางเรียบมาตามล้ำน้ำสักจากสระบุรีเรื่อยมาก่อนถึงเมืองหล่มได้ผ่านหมู่บ้านหมู่หนึ่ง คือ บ้านท่ากกโพธิ์ซึ่งมีชาวหล่มอาศัยอยู่ประปราย บ้านท่ากกโพธิ์นี้อยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองหล่ม พระยาสุริยะวงศาฯ ได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่ท่ากกโพธิ์เป็นที่อุดมสมบูรณ์ มีชัยภูมิเหมาะที่จะเป็นเมืองอย่างยิ่ง จึงได้ตัดสินใจย้ายเมืองหล่มมาสร้างขึ้นใหม่ที่บ้านท่ากกโพธิ์และได้สร้างคุ้มเจ้าเมืองขึ้นที่สวนฝ้ายตาโปร่งเหล่ง ส่วนคุ้มเจ้าเมืองเก่า ได้จัดสร้างเป็นวัด เรียกว่า “วัดกลาง” ปัจจุบันคือวัดศรีสุมังค์ และพระยาสุริยวงศาฯได้เรียกเมืองใหม่ที่ตั้งขึ้นนี้ว่า “หล่มสัก” เพราะตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำแควป่าสัก ส่วนเมืองเดิมเรียกว่า “หล่มเก่า” ฉะนั้น คำว่า “หล่มเก่า”  จึงเกิดมีขึ้นตั้งแต่สมัยของเจ้าเมืองหล่มสัก คือ พระยาสุริยวงศาสงครามรามภักดีวิริยกรมพาหะราวปี พ.ศ.๒๓๗๒ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

                                      นายอานนท์ แจ่มศรี ผู้ค้นคว้าและเรียบเรียง  ๑๐ กุมภาพันธ์   ๒๕๒๕

ลำดับทางประวัติศาสตร์

       ก่อนสมัยสุโขทัย ชาวเมืองหลวงพระบางและศรีสัตนาคนหุต(เวียงจันทน์) อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านหนองขี้ควาย (หินกลิ้ง)

 

       สมัยสุโขทัย  มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงเมืองหล่มตามศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ ๑ มีการกล่าวถึง เมืองลุมบาจาย ซึ่งนัก
ประวัติศาสตร์ นักโบราณคดีเชื่อว่าคือ เมืองหล่มเก่า และศิลาจารึกหลักที่ ๙๓ มีคำว่า วัชชปุระ ซึ่งนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นเมืองเพชรบูรณ์ การปรากฎชื่อในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงนั้นมีชื่อ เมืองลุ่ม  เมืองลุม เมืองลม อยู่บ่อยครั้ง แต่เนื่องจากชาวอำเภอหล่มเก่าสืบเชื้อสายจากชาวไทน้อยหลวงพระบางเพราะขนบธรรมเนียมประเพณีความเป็นอยู่ตลอดจนสำเนียงภาษาเหมือนกับชาวหลวงพระบางทุกอย่าง การสร้างบ้านเมืองในสมัยแรกไม่มีหลักฐานทางโบราณสถานพอจะอ้างอิงเป็นที่ แน่นอนได้ จิงทำให้นักวิชาการบางส่วน ระบุว่าเมืองลุมบาจาย นั้นอยู่ในเขต จ.น่าน ส่วนเมืองลุ่ม เมืองลม นั้นอยู่ที่หล่มเก่า

 

       สมัยอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ได้กล่าวถึงทัพพระไชยเชษฐา ได้ส่งกองทัพมาช่วยกรุงศรีอยุธยาครั้งศึกบุเรงนอง เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๑ ได้ยกเข้ามาทางด่านเมืองนครไทย ผ่านเมืองหล่ม เข้ามาทางเมืองเพชรบูรณ์ จะลงมาทางเมืองสุพรรณบุรีเป็นทัพกระหนาบ 

 

       สมัยรัตนโกสินทร์ เกิดกบฎเจ้าอนุวงค์ เจ้าอุปฮาดเมืองหล่มจำยอมเข้าสวามิภักดิ์ด้วยเหตุว่ากำลังพลของตนเองน้อย ต่อเมื่อทางกรุงเทพส่งพระยาอภัยภูธรและพระยาพิชัย มาปราบ เมือพระยาทั้งสองเดินทางมาถึงเมืองหล่ม มีชายไทยตนหนึ่งชื่อ นายคง ได้อาสานำทัพของพระยาอภัยภูธรและพระยาพิชัย ติดตามทัพกบฏเจ้าอนุวงษ์เวียงจันทน์ ตามไปทันกันที่เมืองหนองบัวลำพู เขตเมืองอุดรราชธานี กองทัพไทยจับอุปฮาดเมืองหล่มได้ จึงสำเร็จโทษ ตำแหน่งอุปฮาดเมืองหล่มจึงว่างลงตั้งแต่บัดนั้น  เมื่อปราบกฏเจ้าอนุวงค์สำเร็จ ทางกรุงเทพฯได้พิจารณาความดีความชอบของนายคงผู้กล้าหาญมีความซื่อสัตย์ จึงได้ทำการปูนบำเหน็จรางวัลด้วยการแต่งตั้งตำแหน่งอุปฮาดเจ้าเมืองหล่ม โดยมีบรรดาศักดิ์ราชทินนามว่า     “พระยาสุริยะวงศาสงครามรามภักดีวิริยกรมพาหนะ”

       พ.ศ. 2325 พระสุริวงษามหาภักดีเดชชนะสงครามฯ  เจ้าเมืองหล่ม ได้ย้ายเมืองหล่มไปสร้างใหม่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก เรียกเมืองที่สร้างใหม่ว่าเมืองหล่มสัก ส่วนเมืองเดิมเรียกว่า หล่มเก่า หรือเมืองเก่า ขึ้นต่อการปกครองของเมืองหล่มสัก 

 
     พ.ศ.2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะเมืองหล่มสักเป็นหัวเมือง ชั้นนอก มีเมืองขึ้นตรง 5 เมือง ได้แก่ เมืองหล่มเก่า เมืองด่านซ้าย เมืองเลย เมืองบ่อแตน และเมืองแก่นท้าว 

   
   พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯให้ตั้ง
พุทธมณฑลเพชรบูรณ์ ให้โอนเอาเมืองเพชรบูรณ์ เมืองบัวชุม เมืองไชยบาดาล และเมืองวิเชียรบุรี เมืองหล่มสัก และเมืองเลย โดยมีพระยาเพชรรัตนสงครามเป็นสมุหเทศาภิบาล และยกฐานะเมืองหล่มสักขึ้นเป็นจังหวัด   มีอำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า และอำเภอวังสะพุงขึ้นตรง

      พ.ศ. 2476 รัฐบาลสมัยนั้นได้ตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยาม โดยให้ยกเลิกมณฑลต่างๆ และจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดหล่มสัก ได้ถูกยุบเข้าเป็นอำเภอหล่มสักขึ้นต่อ จ.เพชรบูรณ์ จึงทำให้ อำเภอหล่มเก่า ขึ้นกับจังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

สถานที่สำคัญ

วัดตาล    

วัดศรีสุมังค์    

วัดทุ่งธงไชย    

วัดศรีมงคล(หินกลิ้ง)

วัดนิรมลวัฒนา    

วัดศรีมงคล(นาทราย)   

 

วัดศรีฐานปิยาราม    

วัดจอมศรี(พระธาตุดอยสะเก็ด)    

วัดธาตุพลแพง  

วัดทรายงาม    

วัดดอนไชย   

History | ประวัติ

หล่มเก่า

bottom of page